“กักกัน หมายความว่า การควบคุมผู้สัมผัสโรคหรือพาหะให้อยู่ในที่เอกเทศ เพื่อป้องกันมิให้เชื้อโรคแพร่โดยทางตรงหรือทางอ้อมไปยังผู้ซึ่งอาจได้รับเชื้อโรคนั้น ๆ ได้ จนกว่าจะพ้นระยะฟักตัวของโรคหรือจนกว่าจะพ้นความเป็นพาหะ” พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ถูกกักกันตนเอง
- ต้องอยู่เฉพาะที่พักอาศัย ยกเว้นไปโรงพยาบาล
- ลดความเสี่ยงจากการสัมผัส ล้างมือด้วยสบู่และน้ำบ่อย ๆ หรือ แอลกอออลล์เจลเมื่อมีการสัมผัส
- เลี่ยงไม่เข้าไปในที่ระบาดของโลก หลีกเลี่ยงเข้าไปในพื้นที่แออัด ถ้าจำเป็นให้ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง
- ดูแลสุขภาพตนเอง กินร้อน ช้อนกลาง รักษาร่างกายให้แข็งแรง และดูแลสังคม เมื่อกลับจากพื้นที่เสี่ยงดูแลตนเองไม่น้อยกว่า 14วัน
- การเดินทางไปโรงพยาบาล ให้สวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ควรใช้รถพยาบาล กรณีเดินทางโดยรถยนต์ให้เปิดหน้าต่างไว้เสมอ
- งดไปในที่สาธารณะ แหล่งชุมชน โรงเรียน สถานที่ทำงาน
- การใช้พื้นที่ส่วนกลางของคอนโดหรือหอพักใช้ใส่หน้ากาก รักษาระยะห่างไม่น้อยกว่า 1 เมตร หรือใช้เวลาให้สั้น ที่สุดหากต้องใช้พื้นที่ร่วมกับผู้อื่นในบริเวณจำกัด เช่น ลิฟต์
- ให้สวมหน้ากากอนามัยในที่พักอาศัย และอยู่ห่างจากบุคคลอื่น อย่างน้อย 1-2 เมตร
- หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับบุคคลอื่นในที่พักอาศัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง
- แยกห้องนอนและของใช้ส่วนตัวจากบุคคลอื่นในที่พักอาศัย เช่น ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน
- แยกห้องน้ำ (ถ้าเป็นไปได้) จากบุคคลอื่นในที่พักอาศัย
- กรณีแยกไม่ได้ให้ใช้ห้องส้วมเป็นคนสุดท้าย ทำความสะอาดโถส้วม อ่างล้างมือ หลังใช้ส้วมให้ปิดโถก่อนกดชักโครกทุกครั้ง
- ทำความสะอาดบริเวณที่อยู่อาศัยของตัวเองด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาฟอกขาว 5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำสะอาด 99 ส่วน)ทุกวัน โดยเฉพาะบริเวณที่ผู้กักกันสัมผัส
- ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอนและอื่น ๆ ด้วยน้ำและผงซักฟอก หรือน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 70-90
- ผู้ถูกกักกัน ควรอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก โดยการเปิดหน้าต่างห้องที่อยู่อาศัย
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสตา จมูก ปาก ด้วยมือที่ไม่สะอาด และควรทำความสะอาดมือด้วยการล้างมืออย่างสม่ำเสมอ โดยใช้น้ำและสบู่หรือเอทิลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นอย่างน้อย 70%
- สังเกตอาการของตัวเอง โดยใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หากมีอุณหภูมิร่างกายมากกว่า 37.5๐C หรือมีอาการ ไอ หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย ปวดกล้ามเนื้อ ควรแจ้งโรงพยาบาล และปฏิบัติตามคำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์ และรายงานหัวหน้างานหรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลให้ทราบ
- งดรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น และไม่ใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น ตักแบ่งอาหารมารับประทานต่างหาก เก็บล้างภาชนะ ด้วย น้ำยาล้างจาน ผึ่งให้แห้งและตากแดด
- ปิดปาก ปิดจมูกด้วยกระดาษทิชชูทุกครั้งที่ ไอ จาม ทิ้งทิชชูลงในถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้ง หรือใช้แขนเสื้อตัวเอง ปิดปากและจมูก เมื่อไอหรือจาม และทำความสะอาดมือด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ หรือน้ำและสบู่ทันที
- การกำจัดขยะให้แยกขยะ เป็น 2 ประเภท แล้วใส่ลงถังเพื่อให้ เจ้าหน้าที่เก็บขนนำไปกำจัดต่อไป
- ขยะทั่วไป (เช่น ถุงพลาสติก ภาชนะใส่อาหารแบบใช้ครั้งเดียว ขวด เป็นต้น) ให้ เก็บรวบรวมเป็นขยะทั่วไป
- ขยะที่สัมผัสสารคัดหลั่งโดยตรง ได้แก่ ขยะที่ปนเปื้อนน น้ำมูก น้ำลาย สารคัดหลั่ง (เช่น หน้ากากอนามัย กระดาษทิชชู) ในแต่ละวันให้เก็บรวบรวม และทำลายเชื้อโดยใส่ถุงขยะ 2 ชั้น ทำลายเชื้อด้วยน้ำยาฟอกขาว แล้วมัดปากถุงให้แน่น นำไป ทิ้งรวมกับขยะทั่วไป
แหล่งที่มาของข้อมูล
1.คำแนะนำการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้เดินทางไป-กลับจากพื้นที่ระบาด กระทรวงสาธารณสุข 27 กุมภาพันธ์ 2563,https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/introduction/introduction20.pdfสืบค้นข้อมูล 5/03/20
2.Novel coronavirus (COVID-19) Isolation guidance, Australian Government Department of Health, https://www.health.gov.au/resources/publications/coronavirus-covid-19-isolation-guidanceสืบค้นข้อมูล 5/03/20
3.Novel coronavirus (2019) Home isolation guidance when unwell (suspected or confirmed cases) Australian Government Department of Health,https://www.health.gov.au/sites/default/files/documents/2020/02/coronavirus-covid-19-information-about-home-isolation-when-unwell-suspected-or-confirmed-cases.pdf สืบค้นข้อมูล 5/03/20
4.Considerations for quarantine of individuals in the context of containment for coronavirus disease (COVID-19) Interim guidance 29 February 2020 World Health Organization,file:///C:/Users/Patama2/Downloads/WHO-2019-nCov-IHR_Quarantine-2020.1-eng.pdf สืบค้นข้อมูล 5/03/20
5. แนวทางการจัดการด้านสุขอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม กรณี Home Quarantine (การจัดระบบควบคุมไว้สังเกตุ),กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_km/km12_120363.pdf สืบค้นข้อมูล 15/03/20